ยินดียินดีต้อนรับเข้าสู่แผนกวิชาเครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคปักธงชัย โดยมีครู 4 ท่านได้แก่ ครูกฤษณะ  แก้วมณี ครูชนะชัย  ศรีตระกูล  ครูสมภพ  ญาติฉิมพลี  ครูเกรียงไกร  สักขุนทด

      




KRITSANA  KAEWMANEEcheekysad



 AUTOMECHANICS

 

สถิติ
เปิดเมื่อ7/06/2013
อัพเดท29/11/2013
ผู้เข้าชม53992
แสดงหน้า60564
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




การดูเเลรักษาเครื่องยนต์ ( เเผนก อิเล็ก ฯ ) ปวช.1

การดูเเลรักษาเครื่องยนต์ ( เเผนก อิเล็ก ฯ ) ปวช.1
อ้างอิง อ่าน 361 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง

นาย อัษฎาวุธ แก้วกันยา

การดูแลรักษาเครื่องยนต์

ก่อนที่จะพูดกันถึงในรายละเอียดอื่น ๆ เราจะต้องมาทำความรู้จักกับเครื่องยนต์ของเราเสียก่อน เครื่องยนต์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันหากแบ่งตามชนิดของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

รถยนต์เบนซิน
รถยนต์เบนซินเป็นรถที่มีค่อนข้างมากในบ้านเรา เพราะด้วยความแรงและการออกตัวที่ฉับไวทันอกทันใจทำให้ครองใจใครหลาย ๆ คนจึงทำให้เลือกใช้รถประเภทนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งรถยนต์เบนซินเป็นรถยนต์ที่ต้องอาศัยน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินทั้งธรรมดาและเบนซินซุปเปอร์ ในปัจจุบันเราจะเรียกเป็นค่าอ๊อกเทน 91,95 และ 97 รถแต่ละรุ่นจะระบุอยู่ในคู่มือรถยนต์ว่าควรจะเติมน้ำมันค่าอ๊อกเทนเท่าไหร่ มีบางคนอาจจะเข้าใจว่าการเติมน้ำมันค่าอ๊อกเทนที่สูงกว่าที่ระบุในคู่มือจะทำให้รถแรง หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้นอันที่จริงแล้วมันไม่มีผลเท่าไหร่ อีกทั้งยังจะทำให้คุณเปลืองสตางค์ในกระเป๋ามากขึ้น ส่วนใหญ่รถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินนั้นจะเป็นรถเก๋งหรือรถบรรทุกเล็ก อาจจะมีรถตู้บ้างเล็กน้อย จะสังเกตได้ง่ายคือ ถ้ารถใช้หัวเทียนจะเป็นรถเบนซิน

ข้อดีของรถยนต์เบนซิน
1.        อะไหล่ต่าง ๆ ของเครื่องยนต์มีราคาถูกหาซื้อง่าย
2.        การเร่งความเร็วทำได้ทันอกทันใจกว่ารถยนต์ดีเซล
3.        การสตาร์ทเครื่องทำได้ง่ายกว่ารถยนต์ดีเซล
4.        เครื่องยนต์ใหม่และมือสองมีราคาถูก

ข้อเสียของรถยนต์เบนซิน
1.        การสึกหรอของเครื่องยนต์มีมาก อายุการใช้งานน้อย
2.        น้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง
3.        ทำให้เกิดมลภาวะ (ทำการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์)

จุดไหนของเครื่องยนต์ที่ต้องดูแลรักษา  จุดหลัก ๆ คงจะเป็นภายในห้องเครื่องยนต์ ซึ่งได้แบ่งเป็นจุดต่างๆ คือ
1.        ระบบหล่อลื่น (การดูแลน้ำมันเครื่อง และใส้กรองน้ำมันเครื่อง)
2.        แบตเตอรี่ (ระบบไฟฟ้า)
3.        หม้อน้ำ (ระบบหล่อเย็น)
4.        หม้อกรองและไส้กรองอากาศ
5.        จานจ่ายและหัวเทียน (ระบบจุดระเบิด)
6.        คอยล์และมอเตอร์สตาร์ท (ระบบสตาร์ท)
7.        ฟิวส์และหลอดไฟ
8.        ระบบเบรก
9.        ระบบคลัตซ์และเกียร์
10.        ล้อและยาง
11.        การบำรุงรักษารถยนต์ตามระยะหรือการใช้งาน

การดูแลน้ำมันเครื่อง (ระบบหล่อลื่น)
อย่างแรกที่ต้องดูแลเอาใจใส่ก็คือ การดูแลและวัดระดับน้ำมันเครื่อง เพราะน้ำมันเครื่องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับรถยนต์ เช่นเดียวกับต้นไม้ที่ต้องการน้ำ ถ้าขาดเมื่อไหร่ก็ตายเมื่อนั้น รถยนต์ก็เหมือนกันต้องมีน้ำมันเครื่องมาคอยหล่อเลี้ยงอยูตลอดไม่เช่นนั้นเครื่องคงตั้งพังแน่นอน

หน้าที่หลักของน้ำมันเครื่องคือ ช่วยหล่อลื่นระบบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ให้เดินสะดวก ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์จึงจำเป็ต้องตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำเมื่อใช้ไปนาน ๆ เพราะจะมีสิ่งปลอมปนทำให้ประสิทธิภาพในการหล่อลื่นลดน้อยลงตามอายุการใช้งาน

การเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
ตามหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่แล้วบรรดาช่างต่าง ๆ จะแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก ๆ 3 เดือน หรือทุก ๆ 5,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ว่าจะถึงจุดไหนก่อน อย่างเช่น รถวิ่งทางไกลมาถึงระยะ 5,000 กิโลเมตร ภายใน 2 เดือนครึ่ง ก็ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องได้เลยไม่ต้องรอให้ครบ 3 เดือน) หรืออาจจะดูตามคู่มือรถของท่านแล้วก็ปฏิบัติตามนั้น ถ้าจะให้ดีในการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องควรจะเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องด้วยทุกครั้ง เพราะความสกปรกในไส้กรองอาจเข้าไปทำให้น้ำมันที่เติมใหม่มีสิ่งปลอมปน ที่สำคัญควรจะให้ช่างผู้มีความชำนาญงานเป็นผู้เปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรองให้กับท่าน ถ้าหากว่าท่านไม่รู้เรื่องช่างหรือไม่ชำนาญพอ

ขั้นตอนการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรอง
1.        ถ้าเครื่องเย็นให้สตาร์ทเครื่องยนต์ และอุ่นเครื่องไว้จนเครื่องร้อนถึงระดับปกติจึงดับเครื่อง
2.        เปิดฝากระโปรงหน้าและถอดฝาเติมน้ำมันออก ถอดนอตถ่ายน้ำมันเครื่องที่ด้านล่างของเครื่องยนต์ออก ปล่อยให้น้ำมันเครื่องไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้
3.        ถอดไส้กรองน้ำมันเครื่องออก ปล่อยให้น้ำมันส่วนที่เหลือไหลออกมา การถอดไส้กรองน้ำมันเครื่องจำเป็นต้องใช้บล๊อกถอดไส้กรองโดยเฉพาะ
4.        ติดตั้งไส้กรองน้ำมันเครื่องใหม่ ตามขั้นตอนที่แนบมากับไส้กรองน้ำมันเครื่อง
5.        ใส่แหวนรองตัวใหม่เข้ากับนอตถ่ายน้ำมันเครื่อง ขันนอตถ่ายน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่ด้วยแรงบิด 44 นิวตัน-เมตร (N.M) หรือบิดด้วยมือเท่านั้น
6.        เติมน้ำมันเครื่องชนิดที่แนะนำให้ใช้ใส่ลงในเครื่องยนต์ เครื่องเบนซินเติมน้ำมันเครื่องเบนซิน เครื่องดีเซลเติมน้ำมันเครื่องดีเซล
7.        ปิดฝาเติมน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่แล้วสตาร์ทเครื่องยนต์สัญญาณไฟเตือนความดันน้ำมันเครื่องควรจะดับภายใน 5 วินาที แต่ถ้าไฟเตือนไม่ดับท่านจะต้องดับเครื่องยนต์และตรวจดูพลาดว่าทำขั้นตอนก่อนหน้าผิดพลาดหรือเปล่า
8.        ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินหลาย ๆ นาที เช็คดูที่นอตถ่ายน้ำมันเครื่องและไส้กรองน้ำมันเครื่องว่ามีน้ำมันเครื่องรั่วออกมาหรือไม่
9.        ดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้สักพักแล้วเช็คระดับน้ำมันเครื่องอีกครั้ง ถ้าจำเป็นให้เติมน้ำมันเครื่องจนถึงขีดบนของก้านวัด

สำหรับการตรวจสอบน้ำมันเครื่องควรจะเช็คอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สำหรับรถที่ใช้งานปกติ และควรตรวจสอบอยู่เสมอหากเป็นรถที่ใช้งานหนัก หรือวิ่งทางไกลควรเช็คอยู่เป็นประจำ

การเช็คระดับน้ำมันเครื่อง ต้องกระทำอยู่เสมอเพื่อความแน่นอนในการขับรถ
การเช็คระดับน้ำมันเครื่องให้ทำหลังจากดับเครื่องยนต์ทิ้งไว้เป็นเวลา 2 นาที เพื่อให้น้ำมันไหลลงด้านล่างของเครื่องก่อน และรถจะต้องจอดอยู่บนพื้นราบด้วย
1.        ให้ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาแล้วใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่ซับเช็คก้านวัดให้ไม่มีรอยน้ำมันเครื่องเดิมที่ติดขึ้นมา
2.        เสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับเข้าที่จนสุด
3.        ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาอีกครั้งหนึ่ง ตรวจดูระดับน้ำมันเครื่องบนปลายก้านวัด ถ้าน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่างขีดล่างและขีดบนแสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องถูกต้องแล้ว ถ้าน้ำมันเครื่องอยู่ที่ขีดล่างหรือต่ำกว่าให้เติมน้ำมันเครื่องจนได้ระดับที่ถูกต้อง

การเติมน้ำมันเครื่อง
เมื่อพบว่าน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าระดับมาตรฐาน จะต้องเติมให้ได้ระดับซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
1.        เปิดฝากระโปรงรถยนต์
2.        ดึงก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมาซึ่งจะอยู่ข้าง ๆ เครื่องยนต์ ส่วนตอนปลายจะมีลักษณะแบนประมาณ 2 นิ้ว และจะมีตัวหนังสือเขียนกำกับเอาไว้ คือ
MAX        หมายความว่า  มาก
MID        หมายความว่า  ปานกลาง
MIN        หมายความว่า  น้อย

เมื่อดึงก้านน้ำมันเครื่องขึ้นมาจะมีน้ำมันติดปลายก้านวัดมาด้วยให้ดูว่าน้ำมันเครื่องที่ติดอยู่สูงสุดอยู่ในระดับไหน เช่น
MAX        หมายความว่า ยังไม่ต้องเติมน้ำมันเครื่อง
MID        หมายความว่า ให้เติมน้ำมันเครื่องเล็กน้อยให้ได้ระดับน้ำมันเครื่องอยู่ในระดับกึ่งกลางของ MAX  และ MID
MIN        หมายความว่า ต้องเติมน้ำมันเครื่องให้อยู่ในระดับกึ่งกลางของ MAX และ MID 

3.        การเติมน้ำมันเครื่องให้เปิดฝาเครื่องยนต์ขึ้นมาแล้วเทน้ำมันเครื่องลงไป การเติมแต่ละครั้งให้ดูการวัดจากก้านวัดน้ำมันเครื่องจากข้อ 2 และที่สำคัญการเติมในแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 1.5-2 ลิตรเป็นอย่างมาก
4.        การวัดระดับน้ำมันเครื่อง หลังจากเติมน้ำมันเครื่องให้ใส่ก้านวัดน้ำมันเครื่องกลับไปในช่องเดิม ก่อนใส่ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่เช็ดปลายให้หมดรอยน้ำมัน แล้วจึงใส่กลับลงไปให้สุดแล้วดึงขึ้นมาดูระดับของน้ำมันตามรายละเอียดในข้อ 2
5.        เมื่อได้ระดับน้ำมันเครื่องตามที่ต้องการแล้ว ให้ใส่ก้านวัดน้ำมันเครื่องเข้าที่เดิม ปิดฝาเครื่องยนต์ แล้วจึงปิดฝากระโปรงให้เรียบร้อย

ประโยชน์ของน้ำมันเครื่อง
1.        ช่วยระบายความร้อนจากเครื่องยนต์
2.        ช่วยลดการเสียดทาน และสึกหรอของเครื่องยนต์
3.        รักษาความสะอาดภายในเครื่องยนต์
4.        ลดตะกอนสะสม ป้องกันการเกิดสนิม และการกัดกร่อน
5.        ช่วยให้รถสตาร์ทติดง่าย

ฉะนั้นการเลือกใช้น้ำมันเครื่องจึงมีความสำคัญมาก โปรดปฏิบัติตามคู่มือประจำรถของท่านหรือปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญทุกครั้ง
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://www.newcitythailand.com/bbs/thread-256-1-1.html
นาย อัษฎาวุธ แก้วกันยา [email protected] [223.206.122.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
รูปประกอบความคิดเห็น :
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
อีเมล์ :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :